ประวัติความเป็นมา

อุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

        เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (Regional Science Park – RSP) ขึ้น ประกอบไปด้วย 3 ภูมิภาค ดังนี้
             1. ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นสถาบันแม่ข่าย
             2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นสถาบันแม่ข่าย
             3. ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เดิม) ดำเนินการโดยสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) ซึ่งปัจจุบันคือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)

       แต่เดิมอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 4 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปัจจุบันมีการขยายเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น จึงถูกแบ่งเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนล่าง ทั้งนี้ เครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นสถาบันแม่ข่าย

       แต่เดิมอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 4 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปัจจุบันมีการขยายเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น จึงถูกแบ่งเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนล่าง ทั้งนี้ เครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นสถาบันแม่ข่าย

      อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น) ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 35 ไร่ พื้นที่ใช้สอยรวมภายในอาคารประมาณ 18,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยพื้นที่สำหรับให้บริการแก่ภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิจัย โดยออกแบบอาคารให้มีส่วนผสมผสานกับความเป็นธรรมชาติและการประหยัดพลังงาน (Green building) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น “นิคมวิจัย” โดยเชื่อมโยงองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยไปสู่ภาคเอกชนในภูมิภาค โดยการนำทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานวิจัยและพัฒนาในภาครัฐมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างความเข้มแข็งทางเทคโนโลยีและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

นิยาม

        อุทยานวิทยาศาสตร์ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการหรือภาคเอกชน โดยการนำองค์ความรู้ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ผสานความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรม ตลอดจนผลักดันงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ อุทยานวิทยาศาสตร์ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการช่วยกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค ซี่งเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน